Solar System





          ระบบสุริยะ คือ ระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite) นักดาราศาสตร์เชื่อว่า ในบรรดาดาวฤกษ์ทั้งหมดกว่าแสนล้านดวงในกาแลกซี่ทางช้างเผือก ต้องมีระบบสุริยะที่เอื้ออำนวยชีวิตอย่าง ระบบสุริยะที่โลกของเราเป็นบริวารอยู่อย่างแน่นอน เพียงแต่ว่าระยะทางไกลมากเกินกว่าความสามารถในการติดต่อจะทำได้ถึง
          ที่โลกของเราอยู่เป็นระบบที่ประกอบด้วย ดวงอาทิตย์ (The sun) เป็นศูนย์กลาง มีดาวเคราะห์ (Planets) 8 ดวง เรียงตามลำดับ จากในสุดคือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน
นอกจากนี้ยังมี ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง อุกกาบาต โคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์และยังมีดวงจันทร์โคจรอยู่รอบดาวเคราะห์ อย่างสมดุล และยังมีดวงจันทร์บริวารของ ดวงเคราะห์แต่ละดวง ( Moon of satellites)ยกเว้นเพียง สองดวงคือ ดาวพุธ และ ดาวศุกร์ ที่ไม่มีบริวาร ดาวเคราะห์น้อย (Minor planets) ดาวหาง (Comets) อุกกาบาต (Meteorites) ตลอดจนกลุ่มฝุ่นและก๊าซ ซึ่งเคลื่อนที่อยู่ในวงโคจร ภายใต้อิทธิพลแรงดึงดูด จากดวงอาทิตย์
          นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าระบบสุริยะ เริ่มต้นจากฝุ่นที่เป็นเมฆหมอก ประกอบด้วยแก๊ส ของแข็ง ของเหลว แก๊สส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจน และมีฮีเลียมปนอยู่เล็กน้อยซึ่งแก๊สเหล่านี้เป็นส่วนประกอบของ เอกภพ เนื่องจากแรงโน้มถ่วงของตัวมันเองจึงทำให้เกิดการยุบตัว และร้อนขึ้นจนบริเวณแกนกลาวงเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ ฟิวชันและ กลายเป็นดวงอาทิตย์ในที่สุด ระหว่างนั้นดาวเคราะห์ก็เริ่มก่อตัว โดยความร้อนจากดวงอาทิตย์ผลักให้แก๊สที่เบากว่าและมีน้ำน้ำแข็งมารวมตัวกัน และแรงโน้มถ่วงจะทำให้ฝุ่นเริ่มก่อรวมตัวกันเกิดเป็นดาวเคราะห์วงใน 4 ดวง และในทำนองเดียวกัน ดาวเคราะห์วงนอกก็เกิดจากการรวมตัวกันของน้ำแข็ง และแก๊สกลายเป็นกลุ่มแก๊สขนาดมหึมา เช่น ดาวพฤหัส
          ระบบสุริยะประกอบด้วยดวงอาทิตย์เป็นสุดศูนย์กลางและมีดาวเคราะห์ 9 ดวง โคจรอยู่รอบ ๆ ประกอบด้วย ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน ดาวพลูโต ซึ่งดาวเคราะห์ 6 ดวงแรกสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ส่วนอีก 3 ดวงสามารถมองดูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์จากโลก