Fixed Star



วิวัฒนาการของดาวฤกษ์ 
ดาวฤกษ์ก็เหมือนกับสรรพสิ่งทั่วไปในเอกภพ  มีการเกิด  การคงอยู่  และ การแตกดับไปตามการเวลา  คือ  มีวิวัฒนาการ  ดาวฤกษ์เกิดจากมวลสารระหว่างดวงดาวมารวมกันเกิดแรงอัดตัวเป็นดาวฤกษ์  พลังงานของดาวฤกษ์ เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวส์ชัน  เนื่องจากใจกลางของดาวฤกษ์มีอุณหภูมิสูงมากทำให้ธาตุไฮโดรเจนหลอมตัวกันเป็นธาตุฮีเลียม  มวลสารจะเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน ดังนั้น ทุก ๆ นาทีที่เกิดพลังงานนิวเคลียร์ฟิวส์ชันจะมีการเปล่งแสงและพลังงานออกมารอบ ๆ  จนกว่ามวลไฮโดรเจนจะลดลงจนไม่เกิดปฏิกิริยาดวงอาทิตย์คือดาวฤกษ์ดวงหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันมีสีเหลือง แต่ต่อไปเมื่อใกล้หมดอายุจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีแดง เรียกว่า ดาวยักษ์แดง (a red giant) จากนั้นจะค่อย ๆ หดตัวจนมีขนาดเล็กลงและมีสีขาว เรียกว่า  ดาวแคระขาว (a white dwarf)

องค์ประกอบของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์มีองค์ประกอบที่สำคัญ  คือ  ไฮโดรเจน ประมาณ 90.8 % ฮีเลียม 9.1 % และธาตุโลหะอื่น ๆ ที่อยู่ในสภาพของแก๊สอีก 0.1 %กาแล็กซีทางช้างเผือกประกอบด้วยกาวฤกษ์จำนวนมาก และดาวฤกษ์แต่ละดวงจะอยู่ห่างไกลกันมาก  เราจึงมองเห็นว่าดาวฤกษ์ไม่เคลื่อนที่  แต่ในความเป็นจริงดาวฤกษ์ทุกดวงเคลื่อนที่อยู่ภายในกาแล็กซีโดยรักษาระยะห่างระหว่างกันได้คงที่ จึงมองดูดเหมือนอยู่ประจำที่ เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะเห็นดาวฤกษ์กะพริบอยู่ตลอดเวลา (อันที่จริงดาวมิได้กะพริบ  แต่ที่เรามองเห็นแสงกะพริบ  เพราะแสงเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลกที่มีความแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาจึงทำให้แสงเกิดการหักเห)

อุณหภูมิและสีของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ที่มีมากมายบนท้องฟ้า  จะมีสีและอุณหภูมิแตกต่างกันสีของดาวฤกษ์  สามารถบอกถึงอุณหภูมิด้วย เช่น  ดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิต่ำจะมีสีข้อนข้างแดง  และดาวฤกษ์ที่มีอุณหภูมิสูงจะมีสีขาวหรือสีขาวอมน้ำเงิน


การใช้ประโยชน์จากดาวฤกษ์ 
มนุษย์ในสมัยโบราณใช้ประโยชน์จากดาวฤกษ์  และกลุ่มกาวในหลายด้าน ดังนี้การหาทิศดาวที่เรานิยมใช้ในการหาทิศ คือ ดาวเหนือ (Polaris) ซึ่งเป็นดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกเหนือมากที่สุด อยู่ในกลุ่มดาวหมีเล็ก ดาวเหนือจะอยู่คงที่ส่วนดาวอื่นจะโคจรไปรอบ ๆ ตามการหมุนรอบตัวเองของโลก ดังนั้นเราจึงใช้ดาวเหนือในการหาทิศ กล่าวคือ ถ้าหันหน้าไปทางดาวเหนือคือทิศเหนือด้านขวามือจะเป็นทิศตะวันออก ด้านซ้ายมือจะเป็นทิศตะวันตก และด้านหลังจะเป็นทิศใต้การบอกเวลากลุ่มดาวที่บอกเวลาที่นิยมกันเป็นส่วนใหญ่คือ  ดาวหมีใหญ่ (Ursa Major)เป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกโลกเหนือ กลุ่มดาวดังกล่าวนี้คนไทยจินตนาการเป็นรูปจระเข้ จึงเรียกว่า กลุ่มดาวจระเข้ ในตอนหัวค่ำเราจะเห็นด้านหัวของดาวจรเข้าขึ้นทางทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือและเมื่อเวลา 24.00 น. ดาวกลุ่มนี้จะอยู่กลางท้องฟ้าโดยส่วนหัวจะชี้ไปทางทิศเหนือ และเมื่อใกล้สว่างส่วนหัวจะค่อย ๆ ลับขอบฟ้าไปทางทิศตะวันตก เราจึงนิยมใช้กลุ่มดาวหมีใหญ่หรือกลุ่มดาวจระเข้ในการบอกเวลา ความสว่างและอันดับความสว่างของดาวฤกษ์ ความสว่างของดาวฤกษ์เป็นพลังงานแสงทั้งหมดที่แผ่ออกมาใน 1 วินาที ส่วนอันดับความสว่างเป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้น โดยกำหนดให้ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเมื่อมองด้วยตาเปล่า มีอันดับความสว่างเป็น 1 ส่วนดาวฤกษ์ที่มองเห็นแสงสว่างริบหรี่ มีอันดับความสว่างเป็น 6 ดาวที่มีอันดับความสว่างต่างกัน 1 ความสว่างจะต่างกันประมาณ 2.5 เท่า-ความสว่าง(brightness) ของดาว คือ พลังงานแสงจากดาวที่ตกบน 1 หน่วยพื้นที่ ในเวลา 1 วินาที
- อันดับความสว่าง (brightness) ของดาวฤกษ์ เป็นตัวเลขที่กำหนดขึ้นเพื่อแสดงการรับรู้ความสว่างของผู้สังเกตดาวฤกษ์ด้วยตาเปล่า ดาวที่มองเห็นสว่างที่สุดมีอันดับความสว่างเป็น 1 และดาวที่เห็นสว่างน้อยที่สุดมีอันตับความสว่างเป็น 6 นั่นคือดาวยิ่งมีความสว่างน้อย อันดับความสว่างยิ่งสูงขึ้น หรืออยู่อันดับท้าย ๆ ส่วนดาวสว่างมากอยู่อันดับต้น ๆ